วิธีฝึกความฉลาดหรือไอคิว ให้เร็วขึ้นกว่าเดิม

วิธีฝึกความฉลาดหรือไอคิว ให้เร็วขึ้นกว่าเดิม

ความเชื่อในสมัยก่อน ได้เชื่อว่า ความฉลาดเป็นไอคิวที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด แต่ใช่ว่าคนที่มีไอคิวสูงกว่าจะต้องรู้มากกว่าหรือเก่งกว่าคนที่มีไอคิวต่ำ เนื่องจากไอคิวเปรียบเสมือนคอมพิวเตอร์ กล่าวคือ ไม่ว่าคอมพิวเตอร์จะมีประสิทธิภาพสูงมากมายขนาดไหนก็ตาม ถ้าได้ใส่ข้อมูลน้อยก็สู้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพต่ำกว่าแต่มีข้อมูลเยอะไม่ได้ แสดงให้เห็นว่า คนที่มีไอคิวน้อยกว่า หากมีความขยันอ่านหนังสือให้มาก มีข้อมูลเยอะหรือมีประสบการณ์ในการตัดสินใจต่าง ๆ ก็จะเก่งกว่าคนที่มีไอคิวสูงกว่าได้ ด้วยเหตุนี้ เราจึงมีตัวอย่างของคนประสบความสำเร็จที่ไม่ได้อัจฉริยะตั้งแต่กำเนิด พร้อมวิธีการฝึกความฉลาดหรือไอคิวให้เร็วขึ้นกว่าเดิม เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคุณไม่มากก็น้อย ดังต่อไปนี้

ตัวอย่าง คนประสบความสำเร็จที่ไม่ได้อัจฉริยะตั้งแต่กำเนิด

คนที่ประสบความสำเร็จระดับที่ได้รับรางวัลโนเบล หลายคนมีชีวิตในวัยเด็กธรรมดา โดยเฉพาะ Joanne Rowling (J.K.Rowling) เมื่ออยู่ในวัยประมาณ 10 ถึง 20 กว่าปี ก็ไม่ใช่เป็นนักเขียนอัจฉริยะแต่อย่างใด เมื่อตกงานและมีชีวิตย่ำแย่จึงได้เขียนหนังสืออยู่ที่โต๊ะกาแฟริมถนนและถูกโรงพิมพ์ปฏิเสธหลายครั้ง สุดท้ายกลายเป็นนักเขียนนวนิยายเรื่อง “แฮรี่ พอตเตอร์” ที่มีชื่อเสียงทั้งโลกและร่ำรวยมหาศาล ตอนที่มีอายุมากพอสมควรแล้ว ซึ่งบ่งบอกว่า ไม่ว่าจะอายุ 30 ปี 40 ปี หรือ 50 ปีก็ตาม อย่าท้อหรืออย่าคิดว่าอายุมากเกินไปและได้ปล่อยชีวิตเรื่อย ๆ จนเกษียณ เฝ้าบ้านเลี้ยงหลานหรือรออำลาโลกไป เพราะหากมั่นใจและเดินหน้าก็จะมีโอกาสสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน องค์กร หน่วยงาน ประชาชน สังคมและต่อโลกได้ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่คนที่ได้รับรางวัลโนเบลก็ตาม

Joanne Rowling (J.K.Rowling)

วิธีฝึกความฉลาดหรือไอคิวให้เร็วขึ้นกว่าเดิม

วิธีที่ 1 การทำซ้ำ ๆ

สมองของคนมีความจำอยู่ 2 แบบ คือ แบบที่หนึ่ง ความจำระยะยาว ไม่ว่าจะ 10 – 20 ปีก็ไม่ลืม แบบที่สอง คือ ความจำระยะสั้น เป็นความจำที่พอผ่านไปประมาณ 5 วันหรือบางทีแค่วันเดียวก็ลืมไปแล้วซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์เพราะบางเรื่องไม่ต้องจำตลอดชีวิต จะได้มีที่ว่างไปรับเรื่องใหม่ เช่น ต้องการสอบให้ได้แล้วเร่งอ่านหนังสือภายใน 3 – 5 วัน ซึ่งเป็นการใช้ความจำในระยะสั้น พอหลังจากสอบเสร็จประมาณ 5 วันก็ลืมไปประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์แล้ว หรือให้กลับไปสอบใหม่ก็ทำไม่ได้

กรณีต้องการให้ความจำระยะสั้นเป็นความจำระยะยาวอาจจะเป็นการจำคำศัพท์ ภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น จีน แน่นอนไม่ได้ต้องการจำแค่ในระยะเวลา 5 วัน หรือ 7 วัน เพราะคำศัพท์ถ้าได้จำยิ่งนานก็ยิ่งดี ทำให้ทางการแพทย์ได้ค้นพบว่า วงจรความจำระยะสั้นจะไปสู่วงจรในความจำในระยะยาวได้ ก็ต้องดูซ้ำ ๆ ทวนจนค่อย ๆ ซึมซับ เช่น ประโยคคำว่า I แปลว่า ฉัน you แปลว่า คุณ Happy แปลว่า มีความสุข ประโยคเหล่านี้เมื่อได้ใช้บ่อย ผ่านไป 3 เดือน 6 เดือน หรือ หนึ่งปี ก็ยังจำได้เพราะมีความคุ้นเคย

วิธีที่ 2 การฟังและการอ่านพร้อมฝึกวิเคราะห์

วิธีการฟังและการอ่านทำให้เกิดความรู้ขึ้นมา ซึ่งเด็ก ๆ ชั้นประถมศึกษาก็สามารถเรียนรู้ด้วยวิธีนี้ได้เช่นกัน และหากใครต้องการเพิ่มความฉลาดได้เร็วอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ฝึกการคิดด้วย เช่น การวิเคราะห์ในการแก้ปัญหา การนำข้อมูลมาวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจ การวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองของโลก การวิเคราะห์การบริหารธุรกิจ การใช้กลยุทธ์เพื่อประสบความสำเร็จ การวิจัยอย่างถูกต้องสำหรับนักวิทยาศาสตร์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนต้องใช้การฝึกความคิดทั้งนั้น

วิธีที่ 3 การนั่งสมาธิ

การนั่งสมาธิอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง เพื่อให้ใจสบาย นิ่งและสงบ ก็จะช่วยให้มีสติและสามารถตระหนักรู้ถึงเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะนักเรียนที่อยากจะเรียนเก่งหรือคนทำงานที่ต้องการความประสบความสำเร็จ ก็จะรู้สึกว่าทุกครั้งอ่านหนังสือแล้วรู้สึกจำง่าย เข้าใจและจำแม่นสามารถคิดต่อยอด เชื่อมโยงองค์ความรู้หรือข้อมูลต่าง ๆ เหมือนเป็นคนใหม่ที่เก่งกว่าเดิม แต่บางคนอาจจะไม่นั่งสมาธิโดยตรง เพียงแต่ทำใจให้โปร่ง สบาย ด้วยการอาบน้ำ นั่งเล่นดูท้องฟ้า ดูดวงดาว ก็จะทำให้ความคิดดี ๆ เข้ามาในใจเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม วิธีฝึกความฉลาดหรือไอคิวให้เร็วขึ้นกว่าเดิม ให้ตระหนักว่า อย่าให้ตึงเกินไปจนเกิดความเครียดจัด เพราะจะทำให้เกิดปฏิกิริยาด้านลบสะท้อนกลับ เช่น มีอาการล้า หมดแรง เป็นต้น สังเกตได้ว่าคนที่ทำงานแบบไม่มีวันหยุดเลยหรือทำงานสัปดาห์ละ 7 วัน สู้กับคนทำงาน 5 วัน และหยุด 2 วันไม่ได้ เพราะบางคนได้ใช้วันหยุดไปพักผ่อน อาจจะอยู่กับธรรมชาติ เล่นกีฬา หรืออื่น ๆ ซึ่งเสมือนเป็นการชาร์จเติมพลังงานให้กับตัวเอง เพื่อให้มีพลังในการสร้างสรรค์นั่นเอง