work life balance ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตให้มีความสุขยิ่งขึ้นได้จริงหรือ ?

Work life balance

เชื่อว่ามีคนวัยทำงานในประเทศไทยจำนวนไม่น้อยกำลังประสบปัญหาเวลาเลิกงาน วันหยุดและบทบาทหน้าที่ไม่เป็นไปตาม Job Description หรือคำบรรยายลักษณะงาน ส่งผลให้หลายคนต้องทำงานในวันหยุด เลิกงานไม่เป็นเวลา หน้าที่รับผิดชอบหลักทำได้ไม่ดีเพราะต้องทำหน้าที่รับผิดชอบอื่นที่ได้รับมอบหมายเยอะ จนทำให้หลายคนท้อแท้ หมดไฟและไม่ได้พักผ่อนในช่วงที่ควรได้พักผ่อน รวมถึงไม่ได้ผ่อนคลายความเครียดอย่างแท้จริง ด้วยปัญหาความเหนื่อยล้าจากการทำงานทำให้เกิดทฤษฎี Work life balance ขึ้น

Work life balance

ย้อนหลังไปอย่างน้อย 5 ปีที่ผ่านมา เรามักจะได้เห็น หรือได้ยินทฤษฏี Work life balance บ่อยครั้ง ซึ่งทฤษฏี Work life balance คือแนวคิดเกี่ยวกับการปรับชีวิตการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัวให้เกิดความสมดุล โดยประโยชน์ในการปรับการใช้ชีวิตตามทฤษฏี Work life balance จะช่วยให้เกิดการพักผ่อนที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้สุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตดีขึ้น ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น

ตัวอย่างประเทศที่สนับสนุน Work Life Balance ในแถบ Asia (อ้างถึงบทความ Countries with Best Work-Life Balance: 2022 Worldwide Map บนเว็บไซต์ amerisleep.com) เช่น

  1. ประเทศออสเตรเลีย แม้จะมีวันหยุดนักขัตฤกษ์เพียง 9 วันต่อปี แต่มีชั่วโมงการทำงาน 38 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สูงสุดไม่เกิน 40 ชั่วโมง (เฉลี่ยวันละ 7 ชั่วโมงต่อวัน) และมีวันลาเพื่อดูแลผู้ป่วย หรือลาคลอดบุตร หรือลาพักผ่อนได้โดยได้รับค่าจ้างตามปกติ อย่างน้อย 20 วันต่อปี
  2. ประเทศนิวซีแลนด์ กำหนดชั่วโมงการทำงานมีแบบ 6 ชั่วโมงและ 8 ชั่วโมงต่อวัน มีวันหยุดนักขัตฤกษ์ 11 วันต่อปี สามารถลาโดยได้รับค่าจ้างได้ 4 สัปดาห์ต่อปี สามารถลาเลี้ยงบุตรโดยได้รับค่าจ้างได้ 1 ปี

ในบทความดังกล่าวได้จัดอันดับให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ทำงานหนักแต่มีค่า GDP Ranking (Gross Domestic Product) ความคล่องตัวของเศรษฐกิจในประเทศอยู่ในอันดับที่ 25 หรือ 0.57% ของ GDP โลก ทำให้เห็นว่าคนไทยทำงานหนักเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ซึ่ง Work life balance คือ ทฤษฏีที่ช่วยในการจัดสรรการใช้ชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงานให้มีความสมดุลกันและช่วยลดภาระงานที่ไม่จำเป็นออกไป

สำหรับคนวัยทำงานที่ต้องการปรับเปลี่ยนระบบการทำงานของตัวเองให้สอดคล้องกับทฤษฏี Work life balance มีวิธีการ ดังนี้

  • ลิสรายการที่ต้องทำในแต่ละวัน เมื่อลิสรายการที่ต้องทำลงในกระดาษครบแล้วให้เริ่มจัดลำดับความสำคัญหรือความเร่งด่วนของงาน โดยเริ่มทำงานที่เร่งด่วนและมีความจำเป็นก่อนเสมอ
  • จัดตารางชีวิตให้เหมาะสม หากมีความจำเป็นต้องทำงานล่วงเวลาหรือวันหยุดเป็นประจำ ควรใช้วิธีการจัดตารางเวลาชีวิตช่วย โดยกำหนดตารางการใช้ชีวิตให้ชัดเจน เช่น ช่วงเช้าเวลา 7.00 – 08.00 น. เป็นเวลาทำธุระส่วนตัวควรจัดการให้เรียบร้อยและเริ่มทำงานในช่วงเวลา 09.00 – 12.00 น. อย่างเต็มที่ เป็นต้น
  • เวลาพักผ่อนควรพักผ่อนอย่างเต็มที่ เวลาพักผ่อนควรเป็นช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนอย่างแท้จริงโดยไม่มีเรื่องงานเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อให้สมองได้ผ่อนคลายความเครียดและใช้เวลาพักผ่อนอย่างมีประสิทธิภาพไปพร้อมกับการปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัว

การจัดตารางเวลา เขียนรายการพร้อมจัดลำดับความสำคัญของงานและลงมือทำเป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตการทำงานและการพักผ่อนเกิดเป็น Work Life Balance สุขภาพกาย สุขภาพจิตและการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างแท้จริง