บริหารเวลาทำข้อสอบ ที่คนสอบราชการติดไม่เคยบอก

ข้อสอบราชการ

แม้ว่าในปัจจุบันจะมีอาชีพใหม่เกิดขึ้นมากมายแต่ต้องยอมรับว่าอาชีพรับราชการยังคงเป็นอาชีพที่คนส่วนใหญ่เห็นว่ามีความมั่นคงมากที่สุด ทำให้หลายคนหมั่นอ่านหนังสือและยอมเสียเงินไปเรียนติวพิเศษเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการสอบราชการมากขึ้น แม้ว่าหลายคนจะมีความเข้าใจในข้อสอบเป็นอย่างดีแต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่พลาดโอกาสเพราะทำข้อสอบไม่ทัน โดยการทำข้อสอบจะมีกำหนดเวลาจำกัดเหมือนการแข่งขันกีฬาฟุตบอลที่จะมีเวลาผลบอลสดเพียง 90 นาทีเท่านั้น ซึ่งเทคนิคการบริหารเวลาทำข้อสอบที่คนสอบติดไม่เคยบอก มีดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบเวลาในการทำข้อสอบ ในประกาศสอบราชการทุกหน่วยงานจะมีการประกาศวันและเวลาอย่างชัดเจน ทำให้ผู้เข้าสอบรู้ว่าจะสามารถใช้เวลาในการสอบนานกี่ชั่วโมง กี่นาที

ขั้นตอนที่ 2 คำนวณเวลาที่ใช้ในการทำข้อสอบ รายละเอียดในการสอบราชการจะแจ้งจำนวนข้อสอบให้ผู้เข้าสอบได้ทราบ โดยเราจะนำเวลาคิดเป็นนาทีนำมาหารกับจำนวนข้อสอบ เช่น เวลาสอบ 09.30 – 12.00 น. ใช้เวลาในการสอบได้ 2.30 ชั่วโมง หรือคิดเป็นนาทีได้ 150 นาที จำนวนข้อสอบ 150 ข้อ = 150 (นาที)/150 (ข้อ) = ข้อละ 1 นาที

ขั้นตอนที่ 3 ฝึกทำข้อสอบ เพื่อให้การบริหารจัดการข้อสอบทำเสร็จทันเวลาที่กำหนด ผู้เข้าสอบควรฝึกทำข้อสอบโดยเทคนิคที่ช่วยเพิ่มเวลาในการทำข้อสอบ ได้แก่

  • เลือกทำข้อที่มั่นใจและทำได้ก่อน การเลือกทำข้อที่มั่นใจว่าทำได้จะทำให้เราตัดสินใจได้รวดเร็วกว่า
  • เลือกทำข้อที่พอทำได้เป็นอันดับถัดมา สำหรับข้อไหนที่คิดว่าพอทำได้ โดยตัดคำตอบที่คิดว่าไม่ใช่ออกไปเหลือเอาไว้แต่คำตอบที่คิดว่าน่าจะใช้เพื่อเอาไว้ตัดสินใจทีหลัง ทั้งนี้ควรทำการตัดสินใจอย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้เสียเวลาโดยไม่จำเป็น

ขั้นตอนที่ 4 เลือกกากบาทสักข้อ หากข้อไหนที่พยายามแล้วแต่ก็ทำไม่ได้ต้องเลือกกากบาทสักข้อ ไม่ควรปล่อยไว้เพราะจะทำให้เสียโอกาสในการได้คะแนนไปโดยใช่เหตุ

ขั้นตอนที่ 5 เขียนคำตอบให้ตรงคำถาม โจทย์ถามอะไรมาให้ตอบให้ตรงคำถามและครอบคลุมคำถามมากที่สุด หากโจทย์เป็นแนววิเคราะห์ให้ใช้หลัก 5W 1H (Who (ใคร), What (อะไร), Where (ที่ไหน), When (เมื่อไหร่), Why (ทำไม) และ How (อย่างไร)) จะช่วยให้เราสามารถลำดับคำตอบได้เป็นข้อ ๆ

ขั้นตอนที่ 6 ตรวจสอบคำตอบ การตรวจสอบคำตอบให้ครบถ้วนและถูกต้องตรงตามคำถามเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่ไม่ควรทบทวนคำตอบอีกครั้ง เพราะความกดดันในเวลาสอบสามารถทำให้เราตัดสินใจผิดพลาดได้ บางคนกากบาทคำตอบที่ถูกต้องลงไปตั้งแต่ครั้งแรกแต่พอกลับมาอ่านทวนอีกครั้งทำให้เกิดความสับสนและเปลี่ยนไปกากบาทข้อที่ผิดได้